เราได้ยินการเปิดประชาคมอาเซียน (AEC) ในปี 2558 แต่จากข้อมูลส่วนเล็ก ๆ ถัดจากนี้ประกอบกับความรู้สึกของเราทุกคนเอง คงพอบอกได้ว่า ส่วนใหญ่ยังไม่ค่อยมีความรู้ในเรื่องการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน เราอาจไม่ได้คิดถึงด้วยซ้ำว่าจะส่งผลถึงครอบครัวอย่างไร
ข้อมูลและความเห็นจากผู้ที่ศึกษาและทำงานเกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนการเปิดประชาคมอาเซียน หรือเออีซี 3 ท่านว่า เออีซีเกี่ยวกับชีวิตพ่อแม่ลูกหรือไม่ อย่างไร มาก-น้อยและใกล้-ไกลเพียงใด
แต่ทางโรงเรียนจะขอยกตัวอย่างจาก ดร.สินีนาฎ เสริมชีพ ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยศูนย์อาเซียนศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยซึ่งท่านพูดในหัวข้อที่ว่า เปิดใจกว้าง เคารพความหลากหลาย ลูกต้องการตัวอย่าง
"เออีซีคือการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ เพื่อเป็นตลาดและฐานการผลิตร่วมในภูมิภาค โดยมีการค้าขายระหว่างกัน และการลงทุนได้อย่างเสรี มีการเคลื่อนย้ายแระงงานมีฝีมือในภูมิภาคอย่างเสรี ซึ่งเออีซีจะสำเร็จได้จะต้องมีความเชื่อมโยงทางด้านสังคมและวัฒนธรรมระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนเป็นพื้นฐาน ดังนั้นครอบครัวซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสังคมจังมีส่วนในการสนับสนุนให้เกิดการร่วมกลุ่มทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้เออีซียังมีผลกระทบต่อครอบครัวไทยด้วย ภาพที่เกิดขึ้นคือ สมาชิกในครอบครัวมีโอกาสได้พบปะมากขึ้นและมีการเปิดประเทศสมาชิกอาเซียนมากขึ้น และเมื่อมีการเปิดเสรีทางด้านเศรษฐกิจ อาจทำให้มีการแข่งขันทางธุรกิจสูงขึ้น สมาชิกครอบครัวที่อยู่ในวัยทำงานอาจต้องทุ่มเทให้กับการทำงาน และอาจำให้มีเวลาให้ครอบครัวน้อยลง
AEC ไม่เฉพาะแต่เศรษฐกิจ เด็ก ๆ มีส่วนด้วย
"เออีซีส่งผลกระทบต่อเด็กทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยทางตรงคือ เด็ก ๆ มีโอกาสได้เลือกซื้อสินค้าที่นำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้านมากขึ้น ส่วนทางอ้อมคือการไปมาหาสู่กันของชาวอาเซียนที่เพิ่มขึ้น ทำให้เด็ก ๆ มีโอกาสได้พบปะและพูดคุยกับชาวต่างชาติมากขึ้น เมื่อเข้าเรียนอาจมีโอากาสไปเรียนต่อหรือเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนในต่างประเทศ ทำให้เด็ก ๆ อยู่ในสภาพแวดล้อมที่หลากหลาย"
ครอบครัวต้องทำอะไร
"ครอบครัวควรมีส่วนร่วมในการเตรียมความพร้อมให้แก่เด็กโดยอธิบายให้เด็กเข้าใจในความหลาก
หลาย รวมถึงการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมที่จะเกิดขึ้น ควรหาความรู้เกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของประเทศสมาชิกอาเซียน ซึ่งช่วยสะท้อนถึงรากฐานทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของประเทศต่าง ๆ รวมถึงติดตามข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในภูมิภาค เพื่อให้ทันต่อเหตุการณ์ โดยอาจเริ่มต้นที่การเรียนภาษา เพื่อให้เข้าถึงข้อมูลและมีความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงได้มากขึ้น ที่สำคัญ ควรเปิดใจกว้างและเคารพในความหลากหลายทางสังคมที่ิเกิดขึ้น เพื่อสร้างความเข้าใจและความสามารถในการปรับตัวของเด็ก ๆ ต่อไป"
"พ่อแม่ควรเป็นตัวอย่างให้แก่เด็ก ๆ ในการเปิดใจกว้าง เคารพในความหลากหลายเรียนรู้เพื่อบ้านอาเซียน ตั้งแต่วันนี้"
ขอขอบคุณบทความดี ๆ จากนิตยสาร Real Parenting ตุลาคม 2556